การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม (Participative Management)

หลักการและเหตุผล
    ในบางองค์กรยังมีบุคลากรที่ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน มีทัศนคติในทางลบต่อการทำงาน เพื่อนร่วมงานหรือแม้แต่ตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพการทำงานของตนเอง จึงทำงานเพียงเพื่อเอาตัวรอดไปวัน ๆ และไม่มีความพยายามที่จะพัฒนา ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะส่งผลเสียต่อตัวบุคลากร และต่อการพัฒนาขององค์กร ดังนั้น การบริหารงานแบบให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็น หรือดำเนินการต่าง ๆ เป็นการช่วยให้พนักงานเห็นคุณค่าของตนเอง กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนอง ส่งผลให้เกิดความรักและความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งจะทำให้องค์กรมีการพัฒนาสู่ความสำเร็จในที่สุด

ประโยชน์ที่ผู้อบรมได้รับ

  1. ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และความสำคัญของตนที่มีต่อองค์กรและเกิดทัศนคติที่ดี
  2. รู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงานอย่างมีประสิทริกพ เสริมสร้างความรู้ในการทำงานอย่างเป็น ระบบ เพื่อความสำเร็จขององค์กร
  3. องค์กรลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากรเนื่องจากบุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ

ระยะเวลาอบรม : 1 วัน

กำหนดการและหัวข้ออบรม

09.00 – 12.00 น.
1. ความหมายและแนวคิดในการบริหารแบบมีส่วนร่วม
2. ประสิทธิภาพในการทำงาน คืออะไร? ทำไมต้องปรับปรุงประสิทธิภาพ
3. ความจำเป็นขององค์กรที่ต้องใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม
4. การสร้าง Sense of Business Ownership
5. เรื่องใดบ้างที่พนักงานควรมีส่วนร่วมและทำได้อย่างไร

12.00 – 13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.30 น.
6. การกระตุ้นให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วม
7. กระบวนการและขั้นตอนการวางแผนระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม
8. กิจกรรมการเพิ่มผลผลิตด้วยเทคนิคต่าง ๆ และหลักการนำกิจกรรม ไปใช้
9. โครงการปรับปรุงงานเพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย
10. การพัฒนาตนเอง
11. การเสริมสร้างทัศนคติและความสัมพันธ์ที่ดีต่อองค์กร
12. สรุปและตอบข้อซักถาม

รูปแบบการฝึกอบรม : บรรยาย, กรณีศึกษา, กิจกรรมกลุ่ม, การฝึกปฏิบัติ

วิทยากร : ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาองค์กร

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม : ผู้บริหารองค์กร ผู้จัดการ หัวหน้างาน นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

จำนวนผู้เข้าอบรม : 40- 50 ท่าน/รุ่น

*หมายเหตุ :

1. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ 200%
2. หัวข้อการอบรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามคำแนะนำของวิทยากรหรือความต้องการขององค์กร
ที่เข้ารับการอบรม

หลักสูตรฝึกอบรม