การบริหารเวลาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Time Management)

หลักการและเหตุผล
    เวลานับว่ามีความสำคัญกับเรามาก ซึ่งทุกคนมีเวลาเท่ากัน แต่เพราะเหตุใดผลผลิตและความสำเร็จของแต่ละคนกลับต่างกัน คนส่วนมากมักประสบปัญหา ทำงานไม่ทันตามกำหนด และมักให้เหตุผลว่าไม่มีเวลา หรืองานเยอะมากเกินไปปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้าท่านสามารถบริหารเวลาและความสำคัญของงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม งานใดเป็นงานสำคัญเร่งด่วน ต้องทำก่อน ทำหลัง และทราบเครื่องมือที่จะช่วยในการบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารเวลาที่ได้ผลจะต้องมีเทคนิคเฉพาะ มีการประเมินการบริหารเวลาของตน การวางแผนจัดทำตารางเวลา   ดังนั้น การบริหารเวลาและการจัดลำดับความสำคัญ (Time Management) จึงเป็นคำตอบเดียวที่ทุกคนยอมรับว่าจะสามารถนำมาซึ่งความสำเร็จต่อองค์กรในการดำเนินธุรกิจ และการแข่งขันในสถานกาณปัจจุบันได้ ดังนั้น จึงจำป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบวิธีการบริหารเวลาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่องค์กร

ประโยชน์ที่ผู้อบรมได้รับ

  1. รู้หลักการบริหารเวลา และจัดความสำคัญของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือค้นเทคนิคการบริหารเวลาในการทำงานและในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
  3. สามารถทำงานได้ทันต่อเวลา ส่งผลให้มีเวลาในการพัฒนาตนเองและพัฒนางานได้มากขึ้น

ระยะเวลาอบรม : 1 วัน

กำหนดการและหัวข้ออบรม

09.00 – 12.00 น.
 1. สาเหตุของการใช้เวลาไม่เหมาะสม
 2. วิเคราะห์อุปนิสัยที่ทำให้ “เสียเวลา”
 3. การสร้างความสมดุลในการใช้เวลา (งาน -ส่วนตัว – สังคม)

12.00 – 13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.30 น.

 4. เครื่องมือการบริหารเวลา

      4.1 การจัดลำดับความสำคัญและเร่งด่วนของกิจกรรม (Priority)
          : ฝึกปฏิบัติ (workshop)
    4.2 การวางแผนและจัดทำตารางการบริหารเวลา (TimeSchedule)
          : วิธีประเมินการวางแผนด้วยตนเอง
          : ฝึกปฏิบัติ (workshop)
    4.3 เทคนิคการปรับอุปนิสัยในการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

 5.สรุปความคิดรวบยอด

รูปแบบการฝึกอบรม : บรรยาย, การฝึกปฏิบัติ

วิทยากร : ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม : ผู้บริหาร หัวหน้างาน ผู้จัดการ

จำนวนผู้เข้าอบรม : 40 ท่าน/รุ่น

*หมายเหตุ :

1. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ 200%
2.หัวข้อการอมรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามคำแนะนำของวิทยากร หรือความต้องการขององค์กรที่เข้ารับการอบรม

หลักสูตรฝึกอบรม